วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเพณี ในตำบลเมืองเก่า

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ




ที่มา http://www.painaidii.com/event/event-detail/00003359/lang/e/

               วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
                 ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 
               ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า 
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." 
               ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
              เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




             ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล
             พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ลอยกระทงประทีป" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก ปัจจุบันนี้ การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช



                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้ นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี


            วันที่ 17 มกราคมของทุกปี จึงถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มึต่อประชาชนชาวไทย กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชน มีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ สถานที่จัดงานคือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (เฉพาะการแสดงช้างศึก และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้อัญเชิญพระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช องค์มหาบูรพกษัตริย์ของประเทศไทยผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลมาแล้วในอดีต มาตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จัดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 10 ที่ได้จัดให้มีการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ในระยะแรกได้ใช้อาคารสถานที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชั่วคราว
                   ต่อมาได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ตั้งถาวรได้ตลอดไปใน พ.ศ.2515 นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อน ก็คือที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายและนามของมหาวิทยาลัย นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 แล้ว มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงและกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ต่อมาในปี พ.ศ.2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" มหาวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีพิธีบวงสรวง และกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณลานพ่อขุนซึ่งเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยทุกปีเสมอมา

งานย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย








                ขบวนแห่เกวียนโบราณเทพีสงกรานต์ งานประเพณี “ย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย” เป็นกิจกรรมที่เทศบาลตำบลเมืองเก่า สุโขทัย จัดขึ้นประจำต่อทุกปี โดยจัดให้มีขบวนแห่เกวียนโบราณจาก 12 ชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย แห่ไปตามเส้นทางมุ่งหน้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถนนจรดวิถีถ่อง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย






                 ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่อดีต ช่วงสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความรัก ความเอื้ออาทร และความผูกพันที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา เป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชน สพพ.4จึงขอเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามของไทย พร้อมขับเคลื่อนต้นทุนการท่องเที่ยวด้วยมรดกทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วย “การประสาน ส่งเสริม สนับสนุน” ต่อไป





แหล่งอ้างอิง
http://loykrathong-sukhothiai.blogspot.com/
http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/pday.htm
http://www.dasta.or.th/dastaarea4/en/component/k2/item/263-activity263


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น