วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รถประจำท้องถิ่น ตำบลเมืองเก่า


รถคอกหมู








                   เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ รถคอกหมู ประเภทและลักษณะ รถยนต์โดยสารสองแถวสี่ล้อ ประวัติความเป็นมา รถคอกหมูมาแล้ว คือสียงที่ใช้เรียกรถโดยสารหรือรถสองแถวของอำเภอกงไกรลาศ รถคอกหมูหรือรถสองแถวเริ่มมีเมื่อประมาณ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว โดยเริ่มแรกมีจำนวน ๓ คัน เป้นของ นายประหยัด นายลอย และนายนาด เป็นรถยี่ห้อ TOYOPET ใช้โดยสารคน สัมภาระและสินค้าต่างๆ เช่น ปลาร้า ปลาสด ข้าว ถั่ว เป็นต้น ไปจังหวัดพิษณุโลก หรือจังหวัดสุโขทัย เนื่องการเดินทางทางบกมีความสะดวกกว่าทางน้ำจึงมีการนำสินค้ามาขึ้นที่ท่าน้ำบ้านกง แล้วเดินทางด้วยรถคอกหมู ไปปลายทางที่ต้องการ เดิมคิดค่าโดยสารไปจังหวัดสุโขทัยเป็นราคา ๑ บาทและคิดค่าโดยสารไปจังหวัดพิษณุโลกเป็นราคา ๒ บาท ปัจจุบันกงไกรลาศยังมีการใช้รถคอกหมูเป็นรถโดยสารประจำอำเภอ โดยมีการรวมตัวของผู้ประกอบอาชีพขับรถสองแถวตั้งเป็น บริษัทกงไกรลาศบริการเดินรถ จำกัดให้บริการแก่แม่ค้าที่ขนสินค้าในเวลาเช้ามืดและให้บริการแก่นักเรียนและผู้โดยสารทั่วไปในอัตราผู้ใหญ่ ๒๖ บาท เด็ก ๑๓ บาท ในการเดินทางไปยังจังหวัดพิษณุโลก เริ่มตั้งแต่ ๐๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. และอัตราผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ในการเดินทางไปยังจังหวัดสุโขทัย เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐-๑๔.๐๐ น. ออกรถทุกครึ่งชั่วโมง ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ - วิธีทำ ใช้รับส่งโดยสารตามต้องการ การโดยสารจะให้จะให้ผู้โดยสารนั่งในรถส่วนสัมภาระและข้าวของต่างๆจะนำไปไว้บนหลังคารถแทนบทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นยานพาหนะที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีใช้งานกันมานาน สถานที่ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย






ผลิตภัณฑ์ ในตำบลเมืองเก่า

ข้าวตอกพระร่วง













               ตำนานข้าวตอกพระร่วง ข้าวตอกพระร่วง ข้าวพระร่วง ซึ่งเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะเกิดจากแรง อธิฐานของพระร่วงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ดีหนักหนา ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ อู่ข้าว อู่นํ้า ใครใคร่ค้า ช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ท่านจะเห็นได้จากโบราณสถานวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ได้สร้างเอาไว้ในสมัยนั้นชาวประชาไพร่ฟ้าหน้าใสเจริญรุ่งเรืองกันปกครองกันแบบพ่อปกครองลูกใครมีทุกข์ร้อนอะไรก็จะออกมาสั่นกระดิ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ท่านก็จะออกมาว่าความเพื่อบรรเทาทุกข์บำรุงสุข ข้าวตอกพระร่วง หรือข้าวพระร่วงนี้ ตามตำนานได้มีผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าให้ฟังว่าพระร่วงเจ้าได้ออกผนวชในวันใส่บาตรเทโวที่บนลานวัดเขาพระบาทใหญ่เมื่อได้ฉันภัตตาหารเสร็จข้าวที่เหลือก้นบาตรท่านได้โปรยลงบนลานวัด และทรงอธิฐานว่าให้ข้าวตอกดอกไม้นี้ กลายเป็นหินชนิดหนึ่ง และมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน เมื่อใครมีไว้บูชาบนหิ้งพระ หรือพกติดตัวก็จะเจริญด้วยโภคทรัพย์นานาประการและอยู่ดีมีสุข ข้าวตอกพระร่วงเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยธรรมชาติไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ และใช้ฝนนํ้ามะนาวทาถอนพิษสัตว์ทุกชนิดต่อมาชาวสุโขทัย นำข้าวตอกพระร่วง มาเจียระไนเป็นเครื่องประดับอย่างสวยงามลักษณะสีดำปนนํ้าตาลลายเงิน ลายทอง ทำเป็นหัวแหวนบ้าง สร้อยข้อมือบ้าง หากท่านมีข้าวตอกพระร่วง ข้าวพระร่วงพกติดตัวสำหรับเดินทางก็จะเป็นสื่อนำโชคลาภ และแคล้วคลาด

เรือโบราณ






               เรือโบราณ ใช้ไม้สักในการทำ ซึ่งจะมีความละเอียดในการทำ และที่สำคัญราคาไม่แพง

เครื่องปั้นดินเผา





งานไม้แกะสลักรูปปลาพ่อขุนราม







แกะสลักพระพุทธรูปด้วยศิลา(หิน)















แหล่งอ้างอิง

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ร้านอาหารแนะนำ


ก๋วยเตี๋ยวเรือ เป่าปาก ชามกะลา (Noodle Kala) เมืองเก่า สุโขทัย



 ที่มาhttps://www.wongnai.com


ที่อยู่ ตำบลเมืองเก่า เมืองเก่า , เมืองสุโขทัย , สุโขทัย 64210
เบอร์ติดต่อ 088-2788928
ต่ำกว่า 100 บาท


บ้านจันทร์ฉาย สุโขทัย





บ้านจันทร์ฉาย สุโขทัย
เปิด : 8.00-17.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์
ที่ตั้ง : 169/9 หมู่ 2 ถ.จรดวิถีถ่อง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
เบอร์โทร : 081-9715143
www.facebook.com/baanjunshine

ร้านส้มตำป้าจรอน 



ที่มา https://www.wongnai.com

ที่อยู่ (มาทางเมืองเก่า เลี้ยงโค้งแรกร้านอยู่ทางขวามือ) เมืองเก่า , เมืองสุโขทัย , สุโขทัย 64210

ต่ำกว่า 100 บาท
ที่จอดรถ จอดข้างทาง


กาแฟกรุงเก่า 

ที่อยู่ 1272 (เลยอุทยานประวัติศาสตร์ เยื้องๆกับสีวนา เรสเตอรรอง) เมืองเก่า , เมืองสุโขทัย , สุโขทัย
เวลาเปิดร้าน ทุกวัน : 08:00 - 17:00
ต่ำกว่า 100 บาท
ที่จอดรถ มีที่จอดรถ

สวนอาหารน้ำค้าง (NAMKHANG RESTAURANT)




ที่อยู่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เมืองเก่า , เมืองสุโขทัย , สุโขทัย 64140

ประเพณี ในตำบลเมืองเก่า

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ




ที่มา http://www.painaidii.com/event/event-detail/00003359/lang/e/

               วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขี้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
                 ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 
               ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า 
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." 
               ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
              เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา




             ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล
             พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ลอยกระทงประทีป" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก ปัจจุบันนี้ การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช



                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้ นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี


            วันที่ 17 มกราคมของทุกปี จึงถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มึต่อประชาชนชาวไทย กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชน มีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ สถานที่จัดงานคือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (เฉพาะการแสดงช้างศึก และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้อัญเชิญพระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช องค์มหาบูรพกษัตริย์ของประเทศไทยผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลมาแล้วในอดีต มาตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จัดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 10 ที่ได้จัดให้มีการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ในระยะแรกได้ใช้อาคารสถานที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชั่วคราว
                   ต่อมาได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ตั้งถาวรได้ตลอดไปใน พ.ศ.2515 นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อน ก็คือที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายและนามของมหาวิทยาลัย นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 แล้ว มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงและกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ต่อมาในปี พ.ศ.2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" มหาวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีพิธีบวงสรวง และกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณลานพ่อขุนซึ่งเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยทุกปีเสมอมา

งานย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย








                ขบวนแห่เกวียนโบราณเทพีสงกรานต์ งานประเพณี “ย้อนอดีตมหาสงกรานต์กรุงสุโขทัย” เป็นกิจกรรมที่เทศบาลตำบลเมืองเก่า สุโขทัย จัดขึ้นประจำต่อทุกปี โดยจัดให้มีขบวนแห่เกวียนโบราณจาก 12 ชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย แห่ไปตามเส้นทางมุ่งหน้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ถนนจรดวิถีถ่อง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย






                 ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่อดีต ช่วงสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความรัก ความเอื้ออาทร และความผูกพันที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา เป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชน สพพ.4จึงขอเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามของไทย พร้อมขับเคลื่อนต้นทุนการท่องเที่ยวด้วยมรดกทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วย “การประสาน ส่งเสริม สนับสนุน” ต่อไป





แหล่งอ้างอิง
http://loykrathong-sukhothiai.blogspot.com/
http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/pday.htm
http://www.dasta.or.th/dastaarea4/en/component/k2/item/263-activity263


แหล่งท่องเที่ยว



อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย




อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงฯ        วัดตระพังเงิน          ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว           วัดช้างรอบ 

วัดมหาธาตุ                                   วัดสระศรี                  เตาทุเรียง                                 วัดสะพานหิน 

วัดชนะสงคราม                             วัดศรีสวาย                วัดพระพายหลวง                   ทำนบพระร่วง 

เนินปราสาทพระร่วง                      ศาลตาผาแดง        วัดศรีชุม                                  วัดเชตุพน 

กำแพงเมือง                                  วัดช้างล้อม             วัดตระพังทองหลาง                วัดเจดีย์สี่ห้อง


             อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)


               ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคมพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)



ระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช





                   สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง ๓ เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

กำแพงเมืองสุโขทัย

             ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 1,300 เมตร ยาว 1,800 เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง 2 ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้วคูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้ว

วัดมหาธาตุ



             ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) 8 ซุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฏฐารศ"

วัดชนะสงคราม 


              ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ


เนินปราสาทพระร่วง หรือเขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย 





                 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานแห่งหนึ่งเรียกว่า เนินปราสาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นฐานปราสาทราชวัง ของกษัตริย์เมืองสุโขทัย กรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2526 พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำ บัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 27.50X51.50 เมตร มีบันไดที่ด้านหน้า และด้านหลัง

วัดตระพังเงิน 



                  (คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำ หรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ 300 เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ลักษณะเด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม คือ มีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา (จระนำ หมายถึง ชื่อซุ้มท้ายวิหาร หรือท้ายโบสถ์ มักเป็นช่องตัน) วิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำ

วัดสระศรี 


                เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญอยู่บริเวณกลางสระน้ำที่มีขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป 4 ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม


วัดศรีสวาย




               ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ 350 เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ รูปแบบศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นพุทธสถานโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้า แล้วเป็นวัดในพุทธศาสนาภายหลัง

ศาลตาผาแดง


              มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมร ก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. 1650 - 1700) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูป และเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


               เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองของโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีต


แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) 


              อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า “แม่โจน” เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง 1.50 - 2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชาม มีขนาดใหญ่ น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร

วัดพระพายหลวง 


               เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานทเก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ 3 องค์ เป็นปรางค์ประธานของวัด ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน

วัดช้างรอบ 

              อยู่ห่างจากประตู้อ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.4 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย 5 องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์


วัดสะพานหิน


              วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ 200 เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง 300 เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”

วัดเจดีย์สี่ห้อง 


              ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ 100 เมตร โบราณสถานที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษ และสตรี สวมอาภารณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลง


วัดตระพังทองหลาง 


                อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ริมซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย


วัดช้างล้อม


              เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ


วัดเชตุพน



               ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือนั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างสิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขนี้สร้างจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ และหนา โดยมีการสกัด และบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้หลักที่ 58 จารึกในปี พ. ศ. 2057 กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้




เขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง 



              ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า ทำนบนี้เป็นเขื่อนดิน (คันดิน) สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันกรมชลประทานได้ปรับปรุงบูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่


 วัดศรีชุม








              ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ

เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หาก พิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์ แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม


แผนที่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย






พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย



 






               พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัยและที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงไว้เป็น 3 ส่วนคือ 1. อาคารลายสือไท 700 ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุ สมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก และศิลาจารึก 2. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดง และแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย 3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง และเสมาธรรมจักรศิลา เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.30-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถ เข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย 64210 โทร/โทรสาร 0 5569 7367